พูดถึง Copywriting / Copywriter บางคนก็คงเข้าใจดีอยู่แล้วว่า “เป็นนักเขียนคำโฆษณา” ซึ่งบางคนก็คิดว่าขายพวกนักข่าว นักเขียนทั่วๆ ไป เพราะเกี่ยวกับงานเขียนเหมือนกัน แต่ไม่เหมือนกัน
เจาะจง ตีกรอบให้แคบขึ้นก็ “เป็นงานเขียนเพื่อโปรโมทสินค้าและบริการ เน้นการสะท้อนจุดขายของสิ่งที่นำเสนอให้เข้าถึงลูกค้า เกิดความต้องการซื้อกับเรา”
ในยุคที่เทคโนโลยีและสื่อโฆษณามีความหลากหลายอย่างมากขึ้น การเลือกใช้อาชีพ Copywriting เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนการขายกลับมามีความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะในองค์กรธุรกิจที่ต้องการเปิดตัวผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ การเลือกใช้อาชีพ Copywriting ในการสร้างข้อความโฆษณาที่มีประสิทธิภาพสามารถช่วยเพิ่มยอดขายได้อย่างมหาศาล
คำนิยามของอาชีพ Copywriting
อาชีพ Copywriting หมายถึง การเขียนข้อความโฆษณา และสื่อสารเพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนการขายสินค้าหรือบริการ ผู้ประกอบอาชีพ Copywriting จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือการตลาดและวิธีการสื่อสารในการขายสินค้าและบริการ โดยทั่วไปแล้วจะเน้นไปที่การใช้คำพูดที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย รวมไปถึงเลือกใช้ภาษาที่ถูกต้องและน่าสนใจ
กล่าวในอีกมุมหนึ่ง
“Copywriting คือ คนที่เขียนข้อความ ที่สามารถกระตุ้นให้คนอื่นเกิดการกระทำบางอย่าง”
หรือนิยามสั้นๆ คือ “ผู้ที่ปิดการขาย ผ่านการพิมพ์ตัวอักษร” (Closing in Print)
Copywriting จึงเป็นอาชีพที่หลายธุรกิจทั้งเล็กและใหญ่ควรมี และควรให้ความสำคัญ ไม่ใช่เลือกคนที่พิมพ์เป็น แต่ต้องเลือกคนที่เข้าใจการเลือกใช้คำในการโน้มน้าว เพื่อการปิดยอดขายที่เพิ่มขึ้น
ทักษะที่จำเป็นสำหรับอาชีพ Copywriting
การเขียนข้อความโฆษณา
ในอาชีพ Copywriting การเขียนข้อความโฆษณาเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะเป็นการสร้างเนื้อหาโฆษณาที่มีประสิทธิภาพในการเชื่อมโยงกับกลุ่มเป้าหมาย ในการเขียนข้อความโฆษณา Copywriter จะต้องใช้คำพูดที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และเน้นไปที่การสร้างความสนใจในสินค้าหรือบริการ
การวางแผนและวิเคราะห์
การวางแผนเป็นสิ่งที่สำคัญในอาชีพ Copywriting เพราะจะช่วยให้ Copywriter สามารถสร้างโครงการโฆษณาที่มีประสิทธิภาพได้ โดยการวางแผนจะต้องมีการวิเคราะห์ตลาดและกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเข้าใจแนวโน้มและความต้องการของลูกค้า นอกจากนี้ Copywriter จะต้องวางแผนเนื้อหาโฆษณาให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงเวลาและวัตถุประสงค์ของโครงการ
การใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือตลาด
Copywriter จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีและเครื่องมือตลาดที่ใช้ในการสร้างโครงการโฆษณา เช่น การใช้ Social Media, SEO, PPC, Email Marketing ฯลฯ ซึ่งจะช่วยให้ Copywriter สามารถสร้างแรงขับเคลื่อนการขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพิ่มโอกาสปิดการขาย เพียงปรับ “ข้อความ”
อาชีพการเขียนคำโฆษณา อาจฟังดูธรรมดา ใครๆ ก็ทำได้ ลองยกตัวอย่างให้เห็นภาพขึ้น
ถ้าคุณมี Landing Page เดียวสำหรับการขายของในเว็บไซต์ แล้วจ้าง Copywriter มาช่วยปรับหน้า Landing Page ให้ดูมีความน่าดึงดูด กระตุ้นให้เกิดการซื้อ
- ปกติ สร้าง Conversion 1% ส่งผลเพิ่มรายได้ 1 แสนบาทต่อเดือน
- มี Copywriting สร้าง Conversion 2-3% ส่งผลเพิ่มรายได้เป็น 2-3 แสนบาทต่อเดือน
เห็นความแตกต่างไหมครับ ? ถ้าคุณมีสินค้าสัก 10 อย่าง และอาชีพนี้ สามารถปรับให้เกิดการซื้อเป็นสองเท่าหมด กำไรต่อเดือนจะเพิ่มขนาดไหน
คนเราซื้อเพราะอารมณ์
การขายไม่จำเป็นต้องเห็นคำที่ยืดยาวชักแม่น้ำทั้งห้าเสมอ
เลือกคำที่มีความหมายสั้นๆ กระตุ้น “อารมณ์” (สิ่งที่อยู่เหนือเหตุผล) เป็นตัวชักจูงให้เกิดการซื้อ
เหมือนประโยคเด็ดจากภาพยนตร์เรื่อง คนจะรวย ช่วยไม่ได้ (The Wolf of Wall Street) ที่สอนให้คน ขายปากกาให้ผมสิ ซึ่งมีการสอดแทรกความรู้ด้านหลักการขาย 3 ข้อใหญ่ๆ ที่นำไปใช้ได้จริง
- กระตุ้นให้เกิดความอยากซื้อด้วยข้อดี ไม่ใช่การอธิบายเรียบๆ
- สินค้าช่วยแก้ปัญหาให้เขาได้อย่างไร
- สินค้าเรามีเรื่องราว จุดแตกต่างจากคนอื่นอย่างไร
การกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ ไม่ใช่แค่คำพูด สามารถนำไปใช้กับข้อความและรูปได้ ซึ่งเป็นทักษะเฉพาะในวงการ Copywriting
เทียบกับ Content Writing
Content Writing เป็นการเขียนเชิงเนื้อหายาวๆ อย่าง ข่าว บล็อก บทความ E-Book Whitepaper เปรียบเหมือนการเล่าเรื่อง ขายข้อเท็จจริง ความเห็น ซึ่งถือเป็นข้อเท็จจริงพื้นฐานที่ทำให้ทราบตัวผลิตภัณฑ์
บทบาทจึงต่างจาก Copywriting ที่มีหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการกระทำบางอย่างโดยตรง
ด้านความจำเป็น หรือ ใครดีกว่า เทียบกันไม่ได้ เพราะต้องทำงานควบคู่กันเพื่อเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ใช่ว่าทุกคนที่อ่านข้อความสั้นๆ ที่กระตุ้นอารมณ์แล้วต้องซื้อทุกคน
ถึงไม่ชอบงานขาย แต่ทุกคนเป็นนักขาย
คนเป็นนักเขียน คงไม่อยากยุ่งกับงานขาย แต่อาจต้องปรับความคิดใหม่
ทุกวันนี้ ไม่ว่าคุณจะทำงานค้าขาย หรือ พนักงานประจำก็ขายเป็นประจำอยู่แล้วครับ
“เวลา” และ “แรงงาน” ที่สร้างขึ้นในแต่ละวัน “ผลงาน” ที่ได้ ขายให้บริษัท ทำให้เรามีรายได้
บางคน ทำงานน้อย ใช้แรงน้อย แต่ผลตอบแทนดี เพราะรู้ว่าจะขายยังไงให้คุ้มค่าต่อตัวเองที่สุด
ถ้าคิดแบบนั้น จะทำให้รู้สึกเรื่องงานขาย เป็นเรื่องติดตัวเรามาตลอด แค่ไม่เคยคิดถึงจุดนั้น
สกิล Copywriting เรียนง่าย ใช้ได้เยอะ
เริ่มต้นอยากเป็น Copywriting ไม่ต้องไปเรียนในคอร์สให้เสียเวลา ไม่ต้องจบด้านภาษาก็สามารถเป็นได้ ฝึกฝนทักษะได้ ผ่านการสังเกต คำโปรย สิ่งพิมพ์ โฆษณา อีเมล ฯลฯ ที่มีอยู่มากมายในเว็บไซต์ โซเชียล มีการสอนผ่าน Youtube อยู่หลายคลิป นำมาฝึกฝน ใช้งานจริง วัดผลความสำเร็จได้อย่างชัดเจน
การพัฒนาความสามารถการเลือกใช้คำ อยู่ที่การทดลองใช้คำให้เหมาะสมกับธุรกิจที่คุณดูแลอยู่ ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งไม่มี กูรูในวงการนักการตลาดคนไหนที่สามารถคิดคำโฆษณา ได้ดีกว่าคนที่อยู่กับธุรกิจนั้นมานาน อย่างคุณ
ที่สำคัญ Copywriting เป็นทักษะที่ใช้ได้ในทุกอาชีพ ติดตัวคุณไปตลอด นับตั้งแต่เป็นนักเขียน จนถึงวันที่คุณเป็นเจ้าของธุรกิจเอง การปิดการขายหรือกระตุ้นให้คนอื่นทำบางอย่างให้เรา
การเลือกใช้อาชีพ Copywriting เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนการขายสินค้าและบริการมีความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน โดยการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือตลาดในการสร้างโครงการโฆษณายังมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อ
สุดท้ายนี้ สกิลด้านการโน้มน้าวของ Copywriting ถือเป็นหนึ่งในพื้นฐาน ที่นักการตลาดด้าน SEO และ SEM ควรมีติดตัวไว้ นำเพิ่มประสิทธิภาพในงานที่เกี่ยวข้องกับการตลาดอื่น อย่าง งานเขียนติดต่อกับลูกค้า งานด้าน PR และ Branding ได้ รวมถึงการซื้อขายในชีวิตจริงได้ เป็นทักษะที่ใช้ได้ตลอดชีวิต
Source: Dan Lok