Site icon Poramet.com

หน้าที่หลักของ SEO Specialist ทำอะไรบ้าง ?

หน้าที่หลักของ SEO Specialist ทำอะไรบ้าง ? 1

SEO (Search Engine Optimization) Specialist พูดชื่อตำแหน่งแล้วฟังดูโก้ แต่แม้แต่นัก SEO บางคนก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าต้องทำอะไรบ้าง และ บทบาทในปัจจุบันต้องทำอะไรบ้าง ทำให้อันดับสูงขึ้นเฉยๆ ก็เป็นนัก SEO ได้แล้วหรือ ? มาดูรายละเอียดกันครับ

 

นิยามของ SEO Specialist (สมัยใหม่)

ผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO (Search Engine Optimization) หรือที่เรียกว่าผู้เชี่ยวชาญด้านการปรับแต่งเว็บไซต์เพื่อให้เหมาะสมกับการค้นหาในเครื่องมือค้นหา เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์และประเมินเว็บไซต์เพื่อทำการปรับปรุงให้มีโอกาสอยู่อันดับดีในเครื่องมือค้นหา นอกจากนี้ยังต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์และวางแผนเนื้อหา เช่น การใช้คำสำคัญ (Keywords) การสร้างลิงก์ (Link Building) การสร้างเนื้อหา (Content Creation) และอื่นๆ เพื่อให้เว็บไซต์ของลูกค้ามีประสิทธิภาพและได้รับการตอบรับจากผู้ใช้งานอย่างเหมาะสม

เว็บ SEO.com ให้คำจำกัดความง่ายๆ คือ “อาชีพที่ทำให้เว็บไซต์ติดอันดับหน้าแรกของ Search Engine (Google) แต่ต่างจากเมื่อสิบปีก่อนที่ตัว Search Engine เองก็พัฒนาไปจากเมื่อสิบปีก่อน ทำให้ต้องใช้ทักษะและความสามารถมากขึ้น”

เหมือนคำกล่าวว่า “Content is King” ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ในมุมมองของ SEO Specialist ต้องเข้าใจถึงวิธีการนำมาใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพิ่ม Traffic เข้าเว็บมากสุด และสร้างลิงค์ภายในกับภายนอกบล็อกและเว็บไซต์ได้

ความสามารถเสริมของนัก SEO จะเป็น HTML, CSS, พื้นฐานโปรแกรมมิ่งและการเขียนบล็อก (เช่น WordPress) รวมถึงพวกทักษะการประสานงานระหว่างหน่วยงาน หรือ ลูกค้าที่ต้องการใช้บริการด้าน SEO

ในยุคปัจจุบัน ควรเข้าใจพวกงานที่เกี่ยวข้องด้วย อย่าง Online Marketing, SEM และ Social Media ต่างๆ

 

งานประจำวันของนัก SEO Specialist

โดยพื้นฐานก็ทำให้ติดอันดับสูงๆ ใน Google, วางแผนการสร้างบล็อกหรือคอนเทนต์, หาวิธีเพิ่มลิงค์คุณภาพ, ประเมินผลงาน, วิเคราะห์คีย์เวิร์ด, ศึกษาคู่แข่ง, แนวทางแก้ไขปัญหา, ตั้ง KPI, เช็คปัญหาภาพรวมภายในเว็บ ฯลฯ

แบบละเอียดหน่อย ประมาณนี้ครับ (รายละเอียดดูใน SEO.com)

ถ้าอธิบายให้เห็นภาพก็ ตามคลิป

จะเป็น SEO Specialist ได้อย่างไร

สำหรับต่างประเทศ อาจต้องหาใบ Certificate มาอ้างอิง โดยเฉพาะคนที่ยังไม่เคยมีผลงาน ซึ่งหาที่สอบ Cert. สาย SEO ได้จากหลายเว็บ

ส่วนในไทย ถ้าไม่อยู่ในเงื่อนไขการสมัครก็ไม่ต้องมี เอาประสบการณ์ ผลงาน สอบสัมภาษณ์ และสร้างผลงานช่วงทดลองงาน จะเห็นผลกว่า เพราะงานสายนี้มาเพื่อเพิ่มอันดับในเว็บเป็นหลัก

 

นายจ้าง จะวัดผลงาน SEO ได้อย่างไร

สำหรับมุมมองนายจ้าง ดูจากคนที่สอบสัมภาษณ์และลองงานก็รู้ว่ามีประสบการณ์แค่ไหน ลองดูแผน 3-6 เดือนว่าจะทำอะไรกับเว็บไซต์ได้บ้าง และทำได้จริงไหม

โดยพื้นฐานควรประเมินความน่าจะเป็นในการเติบโตของเว็บไซต์ได้, โฟกัสคีย์เวิร์ด, วางคอนเทนต์รายวัน-รายสัปดาห์, วางแผนเป็นขั้นตอน, Action Plan ชัดเจน และประสานงานกับแผนอื่นได้

แต่ถ้ามาแนว ใส่ Backlink รอโตสัก 6-12 เดือน แนะนำให้จ้างคนใหม่จะเร็วกว่า

 

มุมมองนัก SEO ในไทย

เป็นอาชีพที่ไม่ค่อยบูมเท่าต่างประเทศ ทั้งที่กำลังการค้นหาผ่าน Google จำนวนมหาศาลมากเมื่อเทียบกับ Facebook แต่หลายสื่อยังคงให้ความสำคัญกับ SEM หรือ โฆษณาผ่าน Facebook มากกว่า แม้แต่ HR บางทีก็ยังมึนๆ ว่านัก SEO ทำอะไรได้บ้าง

การจ้างทำ SEO ก็ถือว่าเป็นเรื่องประหยัดเวลาไปได้ แต่ไม่ดีในระยะยาวและอาจถูกหลอกได้ง่าย เพราะบางเจ้าปั่นอันดับในระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งเป็นเรื่องทำได้ง่าย พอรับเงินอาจเอาลิงค์คุณออกหลังจ่ายเงินเสร็จ ทำให้อันดับเว็บไซต์คุณร่วงลง บางทีอาจติดโทษจากการใช้พวกสายดำที่อันตราย ต่างจากจ้างนัก SEO ทำงานประจำที่มีความผูกพันธ์ด้านองค์กรมากกว่า

ในไทยเอง พวกไม่ค่อยมีฝีมือแต่เป็นระดับหัวหน้าก็เห็นอยู่บ้าง เวลาหาคนทำงานด้าน SEO เข้าทีม ยังคงรับด้วยเงื่อนไขในรายละเอียดการสมัครงานว่า “มี Network ส่วนตัว กับ มีเว็บสปินทำ Link Building” เป็นที่ตั้ง (= SEO Specialist หัวโบราณ) ซึ่งก็ไม่แปลก ที่ทำให้อันดับเว็บร่วงลงตามลำดับ คู่แข่งที่พัฒนากว่าโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

บางทีตั้ง KPI ไว้ แต่ต้องเช็คดีๆ ด้วยว่าเป็นผลงานของ SEO หรือทีมงานอื่น เพราะบางที เว็บยังโตได้เพราะธุรกิจที่กำลังเติบโต, เว็บไซต์กำลังพัฒนาโครงสร้าง และฝีมือทีมงานแผนกอื่น อาจไม่ได้มาจากนัก SEO ประมาณว่าจ้างมารับเงินเดือนอย่างเดียว

การรับนัก SEO Specialist ที่มีความสามารถและพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ จะช่วยให้องค์กรพัฒนาได้แบบก้าวกระโดด (จากการปรากฏในการค้นหาของ Google) และยั่งยืนยิ่งกว่า

Exit mobile version