Site icon Poramet.com

ความหมายของ Domain Authority หรือ DA

ความหมายของ Domain Authority หรือ DA 3

Domain Authority (โดเมนออทอริตี้) หรือที่เรียกย่อๆ ว่า DA นั้น เป็นมาตรฐานที่ Moz สร้างขึ้นเพื่อใช้คาดคะเนทิศทางของ SEO ในเว็บไซต์หลักมาหลายปี ช่วงปี 2019 มีการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่อีกครั้งเป็น Domain Authority 2.0 ย้ำจุดยืนว่า ไม่ได้มีผลกับอันดับใน Google แต่ยังช่วยให้นัก SEO ทำงานง่ายขึ้นอยู่เหมือนเดิม

 

Domain Authority คืออะไร

Domain Authority (DA) คะแนนอันดับการค้นหาของเสิร์ชเอนจิ้นของเว็บไซต์ เพื่อใช้คาดคะเนอันดับของเว็บไซต์ในการค้นหา (SERPs) วัดสเกลตั้งแต่ 1-100 ยิ่งสูงยิ่งมีโอกาสติดอันดับคีย์เวิร์ดดี

อาจกล่าวได้ว่า DA ค่าความน่าเชื่อถือและความเข้มแข็งของโดเมนเว็บไซต์ เป็นตัวบ่งชี้ว่าเว็บไซต์มีคุณภาพและไว้วางใจได้หรือไม่ โดยโดเมนออทอริตี้จะถูกคำนวณขึ้นจากจำนวนและคุณภาพของลิงก์ที่ชี้ไปยังเว็บไซต์ดังกล่าว โดยเว็บไซต์ที่มีโดเมนออทอริตี้สูงจะมีโอกาสในการอยู่อันดับบนเครื่องมือค้นหาเช่น Google ได้มากขึ้น

วิธีเช็คค่า DA มีใช้ได้ฟรี ทั้ง Extension ของ Chrome และในเว็บหลัก Link Explorer

แต่ DA ไม่มีผลกับอันดับใน Google โดยตรง

 

จำลองแนวคิดของ Google Pagerank

ถ้าใครเริ่มงานด้าน SEO ก่อนปี 2012 น่าจะคุ้นกับชื่อของ Pagerank (PR) ดี ซึ่ง Google เคยเผยว่าใช้ระบบนี้ แบ่งสเกลจาก 0-10 (มีทศนิยม)

แต่กลายเป็นข้อมูลปกปิดไป เพราะหลังเปิดเผย สร้างผลเสียมากกว่า เพราะทำให้เกิดการซื้อขายโดเมน, ขาย Link เพื่อเพิ่ม PR ให้เว็บ

ถึงจะปิดข้อมูลไม่ให้คนทั่วไปเห็นอีก แต่แนวคิดเรื่อง Pagerank ยังคงมีอยู่ ทำให้ Moz สร้างเครื่องมือจำลอง PR ขึ้น โดยแบ่งสเกล 1-100 แบ่งเป็น

 

DA มีประโยชน์อย่างไร ?

Moz สร้างเครื่องมือประเมินข้อมูลมหาศาลที่เคลื่อนไหวบนโลกอินเตอร์เน็ตเกือบทุกประเทศทุกวัน ทำให้ประเมินค่าของแต่ละลิงค์บนโลกได้แม่นยำกว่าเครื่องมือ SEO อื่นๆ บนโลก และเปิดเผยข้อมูล ทำให้นำไปประยุกต์ใช้คาดคะเนความเคลื่อนไหวและความเปลี่ยนแปลงของเสิร์ชเอนจิ้นได้ง่าย

ทั้งนี้ DA จึงไม่เหมาะที่ใช้เป็นตัวชี้วัดเพียงตัวเดียว แต่จะมีประโยชน์มากเมื่อใช้ร่วมกับเครื่องมืออื่นทาง SEO อย่าง ใช้เช็คอันดับเว็บไซต์ที่สูงใน Google, ใช้ร่วมกับเช็ค Backlink – คีย์เวิร์ดเด่นของเว็บนั้น

เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับ DA, Moz และ Google

คนที่รับทำ SEO บางคนจะเคลมข้อมูลผิดๆ ว่า

ถือเป็นกลโกงรูปแบบหนึ่งของพวกรับงาน SEO เพื่อให้งานตัวเอง เพราะเอา DA เป็น KPI หรือตัววัดผล ง่ายกว่าไปทำอันดับคีย์เวิร์ดบนกูเกิ้ล

เพิ่ม DA แค่ทำ Link ไปเว็บลูกค้าก็เรียบร้อยแล้วครับ ที่เหลือก็นั่งเฉยๆ รอระบบของ Moz อัพเดตคะแนน

 

สรุป ควรใช้ DA หรือไม่ ?

ปัจจุบัน เว็บ DA น้อยก็ติดหน้าแรกแซงเว็บใหญ่ได้โดยอาจไม่มี Backlink หรือ Social Share เลย ขึ้นกับคุณภาพเนื้อหาที่สร้างขึ้น

อย่างไรก็ตาม มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่สามารถติดได้โดยไม่ต้องใช้ตัวช่วย และอัลกอริธึมของ Google มีการประมวลผลทุกวัน ทำให้บางคีย์เวิร์ดอันดับเปลี่ยนแปลงบ่อย

การทราบค่า DA เพื่อนำไปประเมินอันดับด้วยตนเอง ใช้ร่วมกับเครื่องมือ SEO อื่น และหาวิธีแซงหน้าอันดับสูงกว่า ยังคงเรื่องที่สำคัญอยู่ครับ

Exit mobile version